ภูมิแพ้แมลงสาบ

แมลงสาบเป็นแมลงที่สร้างสารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญรองมาจากตัวไรฝุ่น ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก จาม ไอ หายใจ มีเสียงหวีด การที่แมลงสาบลอกคราบบ่อยๆ ทำให้มีการสะสมของสารก่อภูมิแพ้ แมลงสาบอาศัยอยู่ในที่ชื้นและอุ่น เช่น ลักษณะอากาศในประเทศไทย สถานที่แมลงสาบชอบมาก ได้แก่ ห้องน้ำและ ห้องครัว และชอบออกมาเดินในเวลากลางคืน

สารก่อภูมิแพ้จากแมลงสาบ มักพบปริมาณมีปริมาณมากที่สุดในห้องครัว โปรตีนเหล่านี้ได้มาจาก น้ำลาย อุจจาระ สารคัดหลั่ง เปลือกไข่และคราบ และซากของแมลงสาบ สารเหล่านี้สามารถทำให้เกิดอาการแพ้และ หอบหืดได้ ถึงแม้ว่าตัวมันจะตายไปแล้วก็ตาม

ผู้ที่แพ้แมลงสาบจะมีอาการมากขึ้น ในเวลาที่ทำความสะอาดบ้าน เนื่องจากการกวาดบ้าน,การดูดฝุ่น จะทำให้สารเหล่านี้ฟุ้งกระจาย

อาการที่พบบ่อยของการแพ้แมลงสาบ

  • คัดจมูก
  • จาม
  • ไอ
  • ผื่นแดง,คัน
  • หายใจมีเสียงหวีด

คุณอาจจะเคยมีอาการน้ำมูกไหล โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาการนี้อาจเกิดจากภูมิแพ้แมลงสาบก็ได้

การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ จะช่วยให้แพทย์รู้สาเหตุที่แท้จริงและให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง


อ่านอะไรต่อดี?

ข้อมูลทั่วไปของการตรวจ

ตอนนี้คุณมีความรู้เกี่ยวกับอาการของโรคภูมิแพ้แมลงสาบไปแล้ว ถึงคุณอยากจะเอายาฆ่าแมลงไล่ฉีดมันมากกว่ามานั่งกังวลภูมิแพ้ก็เถอะ... ทีนี้จะรู้ได้ยังไงว่าคุณเป็นภูมิแพ้รึเปล่า มีวิธีอะไรบ้าง และองค์การอนามัยโลกหรือ WHO นั้นได้แนะนำวิธีอะไรบ้าง

อ่านต่อ>>

การตรวจเลือดหาสารก่อภูมิแพ้
เป็นวิธีที่ WHO แนะนำ ได้ผลและรวดเร็ว คุณคงไม่ถูกใจเท่าไหร่ถ้าหากจะต้องตรวจด้วยการเอาสารต่างๆ มาจิ้มตามแขนคุณและดูว่าคุณจะแพ้มันหรือไม่ หรือต้องรับประทานสิ่งที่เราสงสัยว่าจะแพ้มัน คุณจะต้องไม่แฮปปี้กับมันแน่ๆ ที่คุณจะต้องมามีร่องรอยการแพ้เกิดขึ้นตามร่างกายเพื่อทดสอบว่าคุณแพ้อะไร แต่การตรวจด้วยเลือดนั้น เพียงแค่ เจาะเลือด เข้าเครื่อง ดูผล แค่นั้นเอง ไม่ต้องเจ็บตัวด้วย

อ่านต่อ>>


References

1. Gruchalla RS, et al. Inner City Asthma Study: relationships among sensitivity, allergen exposure, and asthma morbidity. J Allergy Clin Immunol. 2005 Mar; 115(3):478-85.

2. Wang J, et al. Effect of environmental allergen sensitization on asthma morbidity in inner-city asthmatic children. Clin Exp Allergy. 2009 Sep; 39(9):1381-9.

3. Allergy blood testing: A practical guide for clinicians. Cleveland Clinic Journal of Medicine. 2011 September;78(9):585-592.